วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

งานเขียนแบบก่อสร้าง ตอนที่2


จากบทความงานเขียนแบบก่อสร้างตอนที่แล้วเราได้ทราบหลักเบื่องต้นของการเขียนแบบไปแล้วนะครับ วันนี้เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันต่อเลย กับตอนที่ 2

อย่างไรก็ดีมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขนาดของเส้นที่จะนำมาใช้
  • มาตราส่วน (scale ที่ใหญ่ขึ้น จะใช้เส้นหนากว่า scale เล็ก)
  • รายละเอียด (มาก น้อย) ที่แสดงในแบบ
  • วิธีการพิมพ์, เครื่องพิมพ์

ขนาดของเส้น ตามมาตรฐาน มอก.440 (1-2525) กำหนดความหนาไว้

ดังนี้    0.13    0.18    0.25    0.35    0.50    0.70    1.00    1.40    2.00 มม
อัตราส่วนของเส้นที่แนะนำให้ใช้คือ 1:2:4
เช่น เส้นบาง 0.18 มม. เส้นหนา 0.35 มม. เส้นหนามาก 0.70

การให้มิติระยะ (Dimension) ในการเขียนแบบ

องค์ประกอบของการเขียน dimension

องค์ประกอบของเส้นมิติ มี 3 ส่วนดังนี้
  •  ตัวอักษรกำกับมิติ (Dimension Lettering)
  •  เส้นมิติ (Dimension Line)
  •  เส้นฉาย (Extension Line)



ตัวอักษรกำกับมิติ (Dimension Lettering)

  • วางกึ่งกลางของเส้นมิติ โดยวางขนานในทิศทางเดียวกันกับเส้นมิติ และวางอยู่เหนือ เส้นมิติเล็กน้อย
  • ขนาด แบบอักษร ควรใช้แบบมาตรฐานเดียวกัน และใช้หน่วยวัด (unit) เดียวกัน
  • ตัวเลขในเส้นมิติใช้ขนาดเล็ก คือ 0.18-0.25 (ขนาดเดียวกับคำอธิบาย)
  • ไม่ควรตัดเลขศูนย์หลังทศนิยมออก เช่น 2 เมตร ควรแสดงด้วยเลข 2.00 ไม่ใช่ 2 เฉยๆ
เส้นมิติ (Dimension Line)
  • แสดงด้วยเส้นบาง ให้มีความแตกต่างจากเส้นแสดงวัตถุ
  • ควรวางไว้ในตำแหน่งที่ไม่ชิด หรือห่างจากเส้นแสดงวัตถุมากเกินไป โดยปกติแล้วจะมีระยะห่างประมาณ 0.75-1 ซม.
  • จัดให้เป็นระเบียบ เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ไม่รกรุงรังทำลายรูปแบบของงาน

เส้นฉาย (Extension Line)

  • ในการเขียน Dimension ต้องมีเส้นฉายด้วยเสมอ
  • แสดงด้วยเส้นบาง ให้มีความแตกต่างจากเส้นแสดงวัตถุ
  • ควรลากให้เข้าใกล้รูป หรือส่วนที่แสดงระยะเพื่อให้รู้ตำแหน่งในการวัดที่แน่นอน
  • เส้นฉายต้องไม่ลากตัดเส้นมิติโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้การอ่านแบบผิดพลาดได้
ภาพแสดงการจัดวาง Dimension ในผังพื้น

สัญลักษณ์กำกับปลายเส้นมิติ


การใช้สัญลักษณ์กำกับเส้นมิติ


การใช้สัญลักษณ์กำกับเส้นมิติ

ตัวอย่างแสดงการใช้เครื่องหมายกำกับระยะผสมกันอย่างเป็นระบบ

ตัวอย่างแสดงการใช้เครื่องหมายกำกับระยะผสมกันอย่างเป็นระบบ


ระบบ กริด (Grid System)

ระบบ กริดใช้อ้างอิงตำแหน่งโครงสร้าง เช่น เสา ผนังรับน้ำหนัก มีประโยชน์คือ
  1. ทำให้ผู้อ่านสามารถรู้ตำแหน่งได้ทันที่ทั้งในผัง รูปตัด, รูปด้าน, และแบบขยาย
  2. ใช้อ้างอิงในการให้ระยะ ในส่วนต่างๆ ทั้งในแบบ และในงานก่อสร้าง

ภาพแสดงการอ้างอิงระยะในแบบจากตำแหน่งกึ่งกลางเสา


สัญลักษณ์กำกับแนวเสา (Grid Notation)
สัญลักษณ์กำกับแนวเสา กับอยู่ที่ปลายด้านของเส้นกำกับแนวเสาในแนวระดับ และในแนวดิ่ง เป็นตัวอักษรและตัวเลข อยู่ในวงกลม มีเส้นที่ปลาย คล้ายลูกโป่ง
  • สัญลักษณ์กำกับแนวเสาในแนวระดับควรใช้เป็นตัวเลข เรียงลำดับจากซ้ายไปขวา เส้นกริดในแนวระดับใช้เป็นตัวอักษร ควรใช้เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ (Capital Letter) และควรหลีกเลี่ยงตัว O (โอ) และ I (ไอ)
  • สัญลักษณ์กำกับแนวเสา โดยปกติแล้วจะเขียนกำกับไว้ที่ด้านเดียว คือในแนวระดับมักจะอยู่ด้านบน และในแนวดิ่งถ้าไว้ด้านซ้ายควรกำหนดให้เรียงจากบนลงล่าง ถ้าไว้ด้านขวาควรกำหนดให้เรียงจากล่างขึ้นบน เพื่อให้ได้ตัวอักษรเรียงกันในรูปด้าน และรูปตัด 
  • มีข้อแนะนำว่าหากไว้ด้านขวาจะทำให้อ่านแบบได้ง่ายกว่าเมือเย็บเล่มแบบ ซึ่งตรงกับมาตรฐานของ ISO
  • ในบางโครงการจะวางไว้สัญลักษณ์กำกับแนวเสาที่ปลายทั้ง 2 ด้านก็ได้ เพื่อความสะดวกในการอ่านแบบ

เส้นกำกับแนวเสา (Column Line)
  • เส้นกำกับแนวเสาจะแสดงหรือไม่ก็ได้ ถ้าแสดงจะลากผ่านเข้าไปในแบบ หรือหยุดให้เข้าใกล้แบบให้มากที่สุด
  • โดยปกติจะแสดงเส้นกำกับแนวเสาไว้ที่กึ่งกลางของเสา แต่ไม่จำเป็นเสมอไป ในบางกรณีหรือในบางโครงการจะอยู่ที่ขอบก็ได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการก่อสร้าง เช่นเสาต้นทีชิดขอบที่ดิน อาจจะแสดงเส้นกำกับไว้ที่ขอบ เพื่อกำหนดแนวเริ่มต้นในการก่อสร้าง
  • ใช้เส้นบางกว่าเส้นแสดงวัตถุ
  • หากมีแนวเสาเพิ่มขึ้นมาระหว่างเสา 2 ต้นให้ใช้เป็นจุดทศนิยม เช่นระหว่างเสาแนวที 4 กับ 5 ใช้ 4.5 และระหว่าง B กับ C ใช้ C.5
ขนาดและรูปแบบของ สัญลักษณ์กำกับแนวเสา 

ภาพแสดงการเขียนเส้นกำกับแนวเสาต่อเนื่องกับการให้ระยะโครงสร้าง และสัญลักษณ์กำกับแนวเสา

ระบบพิกัด (Coordinate System)
ระบบพิกัดใช้ระบุตำแหน่งของอาคาร

    ในการเขียนผังบริเวณจะต้องระบุตำแหน่งของอาคารทั้งในแนวระนาบและแนวดิ่ง ใน แนวระนาบระบุตำแหน่งของอาคารโดยอ้างอิงจากมุมใดมุมหนึ่งถึงหมุดเขตที่ดินเพื่อให้สามารถกำหนดแนวจุดเริ่มต้นได้ และต้องกำหนดค่าความสูงของพื้นระดับต่างๆของอาคารอ้างอิงจากระดับสมมติ ± 0.00 ซึ่งสัมพันธ์กับระดับสำรวจ (Survey Datum)


การกำหนดตำแหน่งอาคารและระดับพื้น ในผังบริเวณ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น