วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เริ่มงานเขียนแบบก่อสร้าง ตอนที่1

แบบก่อสร้าง (Construction Drawing)
งานเขียนแบบก่อสร้างนั้นเป็นแบบที่เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างได้ตรงตามรูปแบบที่กำหนดไว้ทุกประการ รวมไปถึงการนำไปงานใช้งานอื่นๆได้แก่ การยื่นขออนุญาตต่อทางราชการ, การประมาณราคาก่อสร้าง, การประกวดราคา, เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน การทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย อาทิ เจ้าของโครงการ, ผู้ออกแบบ และวิศวกรด้านต่างๆ, ผู้ควบคุมงาน, ช่างก่อสร้าง ก็ล้วนแต่อาศัยแบบก่อสร้างเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งสิ้น
ประกอบด้วยเส้นแสดงวัตถุสัญลักษณ์ข้อความ และตาราง

Construction Drawing
ภาพแสดงงานเขียนแบบสถาปัตยกรรม
ประกอบด้วยเส้นแสดงวัตถุ, สัญลักษณ์, ข้อความ และตาราง
*ทีมาภาพ: โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน กรมโยธาธิการ

สาระสำคัญใน แบบก่อสร้าง

เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์สมบูรณ์ในการทำงานผลิตแบบสถาปัตยกรรม มีองค์ประกอบสำคัญ ในการการกำหนดผัง, รายละเอียดต่างๆ สถาปนิก, ผู้เขียนแบบ ต้องมีองค์ความรู้ ความเข้าใจ รวมทั้งต้องพิจารณา ทบทวน ตัดสินใจให้รอบคอบอยู่เสมอ ในการกำหนดรายละเอียดที่ปรากฏในการสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรมนั้น อันได้แก่
    1. รูปแบบการใช้สอย และหน้าที่ที่ต้องการ (Function), รูปทรง, ลักษณะของอาคาร
    2. วัสดุ และอุปกรณ์ที่นำมาใช้ (Materials)
    3. โครงสร้างอาคาร ความแข็งแรง (Structure)
    4. กรรมวิธี และขั้นตอนในการก่อสร้าง (Construction)
    5. อื่นๆ เช่น ระบบงานอาคารต่างๆ (Building System), กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบมาตรฐานของในการเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม 
    ดังนั้น เมื่อแบบก่อสร้างเป็น เครื่องมือที่สำคัญที่มีผู้เกี่ยวข้อง ดังที่ได้กล่าวมาหลายฝ่ายด้วยกันตามที่ได้กล่าวมา ดังนั้นจึงต้องมีลักษณะ, ระบบวิธี ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้เหล่าผู้เกี่ยวข้องนั้นมีความเข้าใจร่วมกันในสาระข้อมูลต่างๆ ในแบบก่อสร้าง ซึ่งมาตรฐานในงานแบบสถาปัตยกรรมนั้นประกอบด้วย

  •  ส่วนที่เป็นเส้น Graphic แสดงวัตถุ
สถาปนิกเป็นผู้กำหนดรูปร่าง, ลักษณะ, โครงสร้างทั่วไป โดยทั่วไปแสดงเป็นภาพ 2 มิติ โดยใช้หลักการของภาพฉาย (Orthographic Projection) และ ภาพตัด หรือบางครั้ง อาจจะแสดงด้วยภาพ axonometric ร่วมด้วยก็ได้ ประกอบกับภาพที่เป็นเชิงสัญลักษณ์ โดยแสดงเป็นมาตราส่วนย่อ มีสัดส่วนตามที่เป็นจริง

  •  การให้มิติ ระยะ ระดับ (Dimension)
  •  ระบบกริด และระบบพิกัด (Grid &  Coordinate System)
  •  มาตรฐานในการใช้เส้นในการเขียนแบบ แบบต่างๆ ของเส้น (line type),
                                                                                น้ำหนักความหนาของเส้น (Line weight))

  •  การแสดงตัวอักษร, รายละเอียด, ข้อความ, ตาราง (Lettering, Text, Table)
  •  สัญลักษณ์การเขียนแบบ (Symbol)
  •  การแสดงสัญลักษณ์วัสดุก่อสร้าง (Material Symbol)
  •  กระดาษมาตรฐาน (Paper Standard)
  •  การวางรูปหน้ากระดาษ (Paper / Document Layout)
  •  แนวทางการวางทิศทางในผัง การกำหนดสัญลักษณ์ทิศเหนือ

    กล่าวโดยสรุปได้ว่า แบบก่อสร้างนั้นประกอบ 2 ส่วนหลักๆ คือส่วนที่เป็นภาพ (Graphic) ที่แสดงรายละเอียดของการแสดงแผ่นงานประเภทต่างๆ เช่น ผังพื้น, รูปตัด รูปด้าน แบบขยายงานสถาปัตยกรรม และโครงสร้าง และส่วนที่เป็นมิติ สัญลักษณ์รายละเอียดต่างๆ


ความสำคัญ
    จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการจำเป็นที่ผู้ที่ศึกษาในสาขาสถาปัตยกรรมจำเป็นที่จะต้องศึกษา ลักษณะวิธีและมาตรฐานในงานเขียนแบบ รวมทั้งฝึกฝนให้มีประสบการณ์ ความชำนาญ ใน งานเขียนแบบ  เพื่อที่จะถ่ายทอดสิ่งที่เราซึ่งเป็นผู้ออกแบบ ได้นำองค์ความความรู้ มากำหนดเป็น ผัง, รายละเอียด (Detail) ต่างๆ เพื่อที่จะได้ถ่ายทอดความคิดการตัดสินใจเพื่อให้นำไปใช้งานได้จริง ตามวัตถุประสงค์ของผู้ออกแบบ มิฉะนั้นหากเราไม่รู้ ไม่เข้าใจในวิธีการอ่านแบบ และเขียนแบบแล้ว สาระสื่อสำคัญในแบบก่อสร้างก็อาจจะตกไปอยู่ใต้อำนาจตัดสินใจของช่างเขียนแบบโดยสิ้นเชิง ซึ่งก็อาจจะทำให้มีข้อผิดพลาด หรือขาดตกบกพร่องได้อยู่มาก เนื่องจากเราไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงวิธีในการถ่ายทอดความคิดออกมาในเชิงงานเขียนแบบ

    เนื่องจาก งานเขียนแบบ นั้นเป็นภาษาสากลที่มีมาตรฐานที่ใช้กันอยู่ร่วมกัน ไม่ว่าจะใช้วิธีใด ทั้งการเขียนแบบด้วยมือ หรือการใช้ Software ประเภท CAD (Computer-aided Design) ผู้เขียนแบบก็จะต้องใช้ความพยายามในการทำให้ เส้น, สัญลักษณ์ และการตั้งค่าต่างต่างๆ ถูกต้องตามมาตรฐาน งานเขียนแบบ มิใช่ปล่อยละเลยไปตามค่าเริ่มต้น (Default) ของโปรแกรม

    โปรแกรมต่างๆ เป็นเพียงเครื่องมือในการทำงานให้มีความสะดวกรวดเร็วขึ้น แต่เนื้อหาสาระสำคัญยังต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจในพื้นฐาน งานเขียนแบบ  และความเข้าใจในเรื่องโครงสร้าง การออกแบบ วัสดุ อุปกรณ์ตามที่ได้กล่าวมาแล้วการเรียนรู้ในการใช้งานเทคโนโลยีประเภท CAD ต่างๆ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งนอกจากการสร้างภาพ 2 มิติ หรือ 3 มิติ แล้วนั้น ลักษณะของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยพื้นฐานจะเหมาะสมกับการทำซ้ำ, การทำซ้ำบางส่วน, การจัดระบบ จัดเก็บและจำแนกข้อมูล การคำนวณขั้นสูง การเก็บและนำไปใช้ใหม่ รวมทั้งระบบวิธีในการทำงานร่วมกัน (Share & Collaboration) การเผยแพร่ และส่งต่อข้อมูล นักศึกษาจึงควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในการทำงานเพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองต่อไป

การใช้เส้นสื่อความหมายในการเขียนแบบ

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

  • ลักษณะของเส้น (Line Type)
  • น้ำหนัก หรือขนาดของเส้น (Line Weight)
ลักษณะของเส้น (Line Type)
    ลักษณะของเส้นที่ต่างกันจะสื่อความหมายที่ต่างกัน จึงควรที่จะใช้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ตามที่นิยมใช้ปฏิบัติกันทั่วๆ ไปเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน


ลักษณะของเส้นที่ต่างกันจะสื่อความหมายที่ต่างกัน

ตัวอย่างน้ำหนักเส้นสำหรับงานเขียนแบบ
ลักษรณะการใช้เส้นกึ่งกลาง , แกนกลาง , (Center Line)
ลักษณะการใช้เส้นแสดงแนวตัดผ่านส่วนต่างๆของอาคาร

การใช้เส้นชนิดต่างๆ ในงานเขียนแบบ

ขนาดของเส้น (Line Weight)


  •     การใช้น้ำหนักเส้นในการเขียนแปลน ละรูปตัดจะแตกต่างกับในการเขียนรูปด้าน
  •     หลักการในการใช้น้ำหนักของเส้นในการเขียนแบบแปลน   
        ใน แปลน และรูปตัด จะใช้ลักษณะวิธีการเน้นส่วนที่ถูกตัดเป็นหลัก (Cutting Plane Technique) ซึ่งต่างกับการเขียนรูปด้านซึ่งใช้เทคนิคเน้นองค์ประกอบหลัก (Major Feature Technique)
        เมื่อเราทำความเข้าใจในความแตกต่างของส่วนที่ถูกตัด และไม่ถูกตัดแล้วก็จะเป็นการนำไปสู่ความถูกต้องของการใช้ (ตั้งค่า) ของการเขียนแบบส่วนประกอบต่างๆ ของอาคารได้ในการเขียนแปลน ระนาบตัดจะตัดผ่านโครงสร้างที่อยู่ทางตั้งทั้งหมด ได้แก่ หน้าตัดเสา ผนัง วงกบตั้งของประตูหน้าต่าง จะถูกเน้นด้วยเส้นที่หนักกว่าเส้นทั่วไป


เน้นเส้นของส่วนที่ถูกตัดในแปลน และรูปตัด

  • หลักการในการใช้น้ำหนักของเส้นในการเขียนรูปด้าน

        การเขียนรูปด้านซึ่งใช้เทคนิคเน้นองค์ประกอบหลัก (Major Feature Technique)
        โดยปกติแล้วจะใช้การเน้นน้ำหนักเส้นของเส้นรอบรูปขององค์ประกอบ หรือ mass ของส่วนอาคารที่อยู่ด้านหน้าให้ชัดเจนกว่าส่วนอาคารที่อยู่ด้านหลัง ซึ่งอาจจะแบ่งออกเป็นหลายๆระดับตามความใกล้ ไกลก็ได้เน้นเส้นรอบรูปแสดงระยะใกล้-ไกล ในรูปด้าน




  • ในการเขียนแบบเส้นจะถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนคือเส้นจริง และเส้นอ้างอิงต่างๆ (เส้น Dimension, เส้นชี้, Gridline เป็นต้น)

        การเน้นเส้นที่ถูกต้องจะทำให้ผู้ที่อ่านแบบเข้าใจได้ง่ายขึ้น
เส้นอ้างอิงในแบบจะมีน้ำหนักเบากว่าเส้นจริง ไม่ควรตัด หรือข่มเส้นจริงซึ่งจะทำให้การอ่านแบบมีความผิดพลาดได้





ภาพแสดง: เส้นชี้, เส้นกำกับ, เส้นบอกระยะ, สัญลักษณ์ต่างๆ มีน้ำหนักเส้นบางกว่าเส้นจริง

  • ตารางการแนะนำการใช้เส้นในการเขียนแปลน

    องค์ประกอบ

การใช้เส้น
ขนาดเส้นที่แนะนำให้ใช้ (mm.)
1:100
1:50
•  หน้าตัดโครงสร้างหลัก (ในแปลนเสา, ผนังรับน้ำหนัก)
•  เส้นทาบต่อ (Break Line)
•  ชื่อเรื่อง ชื่อภาพ ( ตัวอักษรขนาดใหญ่)
เส้นหนามาก
0.50
0.50-0.70
•  หน้าตัดทั่วไป (ในแปลนคือองค์ประกอบทางตั้ง)
•  ตัวอักษรขนาดกลาง
เส้นหนา
0.25 -0.35
0.35-0.50
•  เส้นขอบที่ไม่ถูกตัด
(ในแปลนคือองค์ประกอบทางระนาบพื้น เช่น ขอบพื้น, ระเบียง, วงกบล่าง)
•  ตัวอักษรขนาดเล็ก , ตัวอักษรกำกับเส้นมิติ
•  เส้น Invisible Line
เส้นทั่วไป
0.18 - 0.20
0.25
•  เส้นสัญลักษณ์, อ้างอิง, เส้นบอกระยะ
•  เส้น Grid Line
เส้นบาง
0.10-0.18
0.10 - 0.18
•  เส้นลวดลายต่างๆ เส้นถี่ๆ Pattern
เส้นบางมาก
~ 0.05
~ 0.05


2 ความคิดเห็น: