วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2555

งานเขียนแบบก่อสร้าง ตอนที่2


จากบทความงานเขียนแบบก่อสร้างตอนที่แล้วเราได้ทราบหลักเบื่องต้นของการเขียนแบบไปแล้วนะครับ วันนี้เรามาเริ่มทำความเข้าใจกันต่อเลย กับตอนที่ 2

อย่างไรก็ดีมีปัจจัยหลายอย่างที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับขนาดของเส้นที่จะนำมาใช้
  • มาตราส่วน (scale ที่ใหญ่ขึ้น จะใช้เส้นหนากว่า scale เล็ก)
  • รายละเอียด (มาก น้อย) ที่แสดงในแบบ
  • วิธีการพิมพ์, เครื่องพิมพ์

ขนาดของเส้น ตามมาตรฐาน มอก.440 (1-2525) กำหนดความหนาไว้

ดังนี้    0.13    0.18    0.25    0.35    0.50    0.70    1.00    1.40    2.00 มม
อัตราส่วนของเส้นที่แนะนำให้ใช้คือ 1:2:4
เช่น เส้นบาง 0.18 มม. เส้นหนา 0.35 มม. เส้นหนามาก 0.70

การให้มิติระยะ (Dimension) ในการเขียนแบบ

องค์ประกอบของการเขียน dimension

องค์ประกอบของเส้นมิติ มี 3 ส่วนดังนี้
  •  ตัวอักษรกำกับมิติ (Dimension Lettering)
  •  เส้นมิติ (Dimension Line)
  •  เส้นฉาย (Extension Line)


วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เริ่มงานเขียนแบบก่อสร้าง ตอนที่1

แบบก่อสร้าง (Construction Drawing)
งานเขียนแบบก่อสร้างนั้นเป็นแบบที่เขียนขึ้นโดยมีจุดประสงค์ให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการก่อสร้างได้ตรงตามรูปแบบที่กำหนดไว้ทุกประการ รวมไปถึงการนำไปงานใช้งานอื่นๆได้แก่ การยื่นขออนุญาตต่อทางราชการ, การประมาณราคาก่อสร้าง, การประกวดราคา, เป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการทำงานร่วมกัน การทำความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องหลายๆฝ่าย อาทิ เจ้าของโครงการ, ผู้ออกแบบ และวิศวกรด้านต่างๆ, ผู้ควบคุมงาน, ช่างก่อสร้าง ก็ล้วนแต่อาศัยแบบก่อสร้างเป็นเครื่องมือสำคัญทั้งสิ้น
ประกอบด้วยเส้นแสดงวัตถุสัญลักษณ์ข้อความ และตาราง

Construction Drawing
ภาพแสดงงานเขียนแบบสถาปัตยกรรม
ประกอบด้วยเส้นแสดงวัตถุ, สัญลักษณ์, ข้อความ และตาราง
*ทีมาภาพ: โครงการแบบบ้านเพื่อประชาชน กรมโยธาธิการ